คำพังเพย
คําพังเพย พร้อมความหมาย
เราต่างก็สับสนมาตลอดว่า คำพังเพย กับ สำนวน กับ สุภาษิต นั้นต่างกันยังไง วันนี้เราไปเจาะลึกกันว่าแท้จริงแล้วคำพังเพยนั้นคืออะไร ดูยังไงถึงจะรู้ว่าเป็นคำพังเพย
คำพังเพย คืออะไร?
คำพังเพย คือ คำพูดที่พูดออกมาโดยไม่ได้ตั้งใจว่าจะสอนอะไร แต่เป็นการพูดเชิงเปรียบเทียบว่าสถานการณ์นั้นเป็นอย่างไรมากกว่า ซึ่งส่วนใหญ่คำพังเพยล้วนแล้วมักจะแฝงแง่คิดที่สามารถนำมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันของเราได้
โดยคำพังเพยจะเป็นถ้อยคำที่มีความหมายลึกซึ้งกว่าสำนวนไทย พร้อมทั้งมีลักษณะติชม หรือแสดงความเห็นอยู่ในตัว แต่ไม่ถึงกับเป็นคำสอนหรือคำสั่งสอนให้ข้อคิดเหมือนสุภาษิต
คำพังเพย
เป็นการเปรียบเทียบ เพื่อให้เห็นข้อคิดแค่นั้น
คำพังเพย มาจากไหน?
คำว่า พังเพย มาจากภาษาจีน จีนกลางออกเสียงว่า ผัง-ผี้ แต้จิ๋วออกเสียงว่า ผั่ง-โพย แปลว่า หมายเหตุหรือคำวิจารณ์ที่เขียนอธิบายไว้ข้าง ๆ ข้อความหลัก
รวมคำพังเพย 108 คำยอดฮิต
- กงเกวียนกำเกวียน
หมายถึง เวรสนองเวร, กรรมสนองกรรม, เช่นทำแกเขาอย่างไร ตนหรือลูกหลานก็อาจจะถูกทำในทำนองเดียวกันอย่างนั้นบ้างเป็นกงกำกงเกวียน - กรวดน้ำคว่ำขัน
หมายถึง ตัดขาดไม่ขอเกี่ยวข้องด้วย - กระดี่ได้น้ำ
หมายถึง ใช้เปรียบเทียบคนที่แสดงอาการดีอกดีใจจนตัวสั่นเช่นเขาดีใจเหมือนกระดี่ได้น้ำ - กระต่ายขาเดียว
หมายถึง ยืนกรานไม่ยอมรับ - กระต่ายตื่นตูม
หมายถึง ใช้เปรียบเทียบคนที่แสดงอาการตื่นตกใจง่ายโดยไม่ทันสำรวจให้ถ่องแท้ก่อน - กระต่ายสามขา
หมายถึง ยืนกรานไม่ยอมรับ - กระต่ายหมายจันทร์
หมายถึง ผู้ชายหมายปองผู้หญิงที่มีฐานะดีกว่า - กาคาบพริก
หมายถึง ลักษณะคนผิวดำแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าแดง - ขนมจีนผสมน้ำยา
หมายถึง พอดีกัน จะว่าข้างไหนดีกว่ากันไม่ได้ - ขวานผ่าซาก
หมายถึง โผงผางไม่เกรงใจใคร(ใช้แค่กริยาพูด) - ขว้างงูไม่พ้นคอ
หมายถึง ทำอะไรแล้วผลร้ายกลับมาสู่ตัว - ขิงก็ราข่าก็แรง
หมายถึง ต่างก็จัดจ้านพอๆกัน,ต่างก็มีอารมณ์ร้อนพอๆกัน,ต่างไม่ยอมลดละกัน - ขุนไม่ขึ้น
หมายถึง เลี้ยงไม่เชื่องมีแต่เนรคุณ - ขุนไม่เชื่อง
หมายถึง เลี้ยงไม่เชื่องมีแต่เนรคุณ - ข่มเขาโคขืน
หมายถึง บังคับขืนใจผู้อื่นให้ทำตามที่ตนต้องการเช่นจะจัดแจงแต่งตามอารมณ์ให้กินหญ้าเราเหมือนข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า - ข่มเขาโคขืนให้กลืนหญ้า
หมายถึง บังคับขืนใจผู้อื่นให้ทำตามที่ตนต้องการ - ข้างนอกขรุขระข้างในต๊ะติ๊งโหน่ง
หมายถึง สิ่งที่ดูภายนอกแล้วดูไม่สวยงามหรือดูไม่ดี แต่แท้จริงแล้วภายในนั้นมีความสวยงามหรือความดีซ่อนอยู่ภายใน - ข้างนอกสุกใสข้างในเป็นโพรง
หมายถึง สิ่งที่ดูภายนอกแล้วดูสวยงามดูดี แต่แท้จริงแล้วภายในนั้นแย่ - คดในข้องอในกระดูก
หมายถึง มีสันดานคดโกง - คนตายขายคนเป็น
หมายถึง การจัดงานศพให้แก่ผู้ตายอย่างใหญ่โตทั้งที่ผู้อยู่ข้างหลังยากจนไม่มีเงิน หรือต้องไปกู้เงินมาจนเป็นหนี้สิน - คนล้มอย่าข้าม
หมายถึง คนที่เคยมีอำนาจวาสนา แล้วหมดอำนาจ อย่าไปซ้ำเติมเขา เพราะเขาอาจกลับมามีอำนาจอีกได้ - คบคนให้ดูหน้าซื้อผ้าให้ดูเนื้อ
หมายถึง จะคบกับใครพิจารณาให้ดีเสียก่อน เช่นเดียวกับการเลือกซื้อผ้า - คว่ำบาตร
หมายถึง ไม่ยอมคบค้าสมาคมด้วย,เดิมหมายถึงสังฆกรรมที่พระสงฆ์ประกาศลงโทษคฤหัสถ์ผู้ประทุษร้ายต่อศาสนาด้วยการไม่คบไม่รับบิณฑบาตเป็นต้น - คางคกขึ้นวอ
หมายถึง คนที่มีฐานะต่ำต้อยพอได้ดิบได้ดีก็มักแสดงกิริยาอวดดีลืมตัว - จับปลาสองมือ
หมายถึง หมายจะเอาให้ได้ทั้ง2อย่าง,เสี่ยงทำการพร้อมๆกันซึ่งอาจไม่สำเร็จทั้ง2อย่าง - จุดไต้ตำตอ
หมายถึง พูดหรือทําสิ่งใดสิ่งหนึ่งบังเอิญไปโดนเอาเจ้าตัวหรือผู้ที่เป็นเจ้าของเรื่องนั้นเข้าโดยผู้พูดหรือผู้ทําไม่รู้ตัว - ชักน้ำเข้าลึกชักศึกเข้าบ้าน
หมายถึง นำศัตรูเข้าบ้าน - ช้า ๆ ได้พร้าสองเล่มงาม
หมายถึง ค่อย ๆ คิดค่อย ๆ ทําแล้วจะสําเร็จผล - ช้า ๆ ได้พร้าเล่มงาม
หมายถึง ค่อย ๆ คิดค่อย ๆ ทําแล้วจะสําเร็จผล - ช้างตายทั้งตัวเอาใบบัวมาปิด
หมายถึง คนที่ทำความผิดอย่างร้ายแรงย่อมไม่สามารถปกปิดความผิดของตนได้หรือพยายามหาหลักฐานมากลบเกลื่อนแต่ไม่สามารถปกปิดความผิดนั้นได้ - ตาดีได้ตาร้ายเสีย
หมายถึง ถ้าโชคดี ตานั้นก็ได้ ถ้าโชคร้าย ตานั้นก็เสีย - ตีงูให้กากิน
หมายถึง ลงทุนลงแรงทำสิ่งที่ไม่เป็นคุณแก่ตนมีแต่จะเป็นโทษแล้วยังกลับไปเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นอีกเช่นตีงูให้ตายแต่ไม่ได้นำงูมาเป็นอาหารกลับโยนงูให้กากิน - ตื่นก่อนนอนทีหลัง
หมายถึง เป็นสำนวน สุภาษิตสอนหญิง ให้มีค่านิยม ตื่นนอนก่อนสามี แต่เข้านอนทีหลังสามี เพื่อใช้เวลาทำงานบ้านงานเรือน ปรนนิบัติสามี - ตื่นก่อนนอนหลัง
หมายถึง เป็นสำนวน สุภาษิตสอนหญิง ให้มีค่านิยม ตื่นนอนก่อนสามี แต่เข้านอนทีหลังสามี เพื่อใช้เวลาทำงานบ้านงานเรือน ปรนนิบัติสามี - ถอดเขี้ยวถอดเล็บ
หมายถึง ละพยศ,ละความดุหรือร้ายกาจ,เลิกแสดงฤทธิ์แสดงอำนาจอีกต่อไป - ทำคุณบูชาโทษ
หมายถึง ทำคุณแต่กลับเป็นโทษ, ทำดีแต่ได้ผลร้าย, มักพูดคู่กับ โปรดสัตว์ได้บาป เป็น ทำคุณบูชาโทษ โปรดสัตว์ได้บาป - ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว
หมายถึง คนเราทำอย่างไรก็จะได้อย่างนั้น - ทำนาบนหลังคน
หมายถึง หาผลประโยชน์ใส่ตนโดยขูดรีดผู้อื่น - ท่าดีทีเหลว
หมายถึง มีท่าทางดีแต่ทำอะไรไม่ได้เรื่อง - ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม
หมายถึง ประพฤติอย่างไร ธรรมะจึงจะตามรักษาผู้นั้นได้ - นกกระจอกเลี้ยงไม่เชื่อง
หมายถึง ผู้ที่ได้รับการอุปถัมภ์ค้ำชูแล้วมักทรยศ - นกต่อ
หมายถึง คนที่ทำหน้าที่ติดต่อหรือชักจูงหลอกล่อคนอื่นให้หลงเชื่อ(ใช้ในทางไม่ดี) - นกน้อยทำรังแต่พอตัว
หมายถึง เป็นผู้น้อยทำอะไรต้องดูให้พอสมควรกับฐานะของตนเช่นมีเงินไม่มากนักก็สร้างบ้านพอประมาณมิใช่สร้างใหญ่โตเพิ่มภาระหนี้สินให้ครอบครัว - น้ำลดตอผุด
หมายถึง เมื่อหมดอำนาจความชั่วที่ทำไว้ก็ปรากฏ - ปลาหมอแถกเหงือก
หมายถึง กระเสือกกระสนดิ้นรน - ปลาใหญ่กินปลาเล็ก
หมายถึง คนที่มีอำนาจราชศักดิ์หรือเป็นใหญ่เป็นโตก็ย่อมข่มคนที่เป็นผู้น้อยหรือผู้น้อยเหมือนกับคนที่มีกำลังมากย่อมมีภาษีเหนือกว่าคนอ่อนแอ - ปากเป็นเอกเลขเป็นโท
หมายถึง การพูดจาสำคัญกว่าวิชาหนังสือ - ปิดทองหลังพระ
หมายถึง ทำความดีแต่ไม่ได้รับการยกย่องเพราะไม่มีใครเห็นคุณค่า - ผู้ดีเดินตรอกขี้ครอกเดินถนน
หมายถึง คนดีคอยปิดบังไม่แสดงตัวแต่คนชั่วกลับแสดงออกอย่างเปิดเผย - ฝนทั่งให้เป็นเข็ม
หมายถึง เพียรพยายามสุดความสามารถจนกว่าจะสำเร็จผล - ฝนทั้งให้เป็นเข็ม
หมายถึง - ฟังไม่ได้ศัพท์จับไปกระเดียด
หมายถึง ฟังไม่ได้ความแจ่มชัดแล้วเอาไปพูดต่อหรือทำผิดๆพลาดๆ - มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ
หมายถึง ไม่ช่วยทำงานแล้วเกะกะขัดขวางทำให้งานเดินไปไม่สะดวกเหมือนกับคนที่นั่งไปในเรือไม่ช่วยทำงานแต่ยังไปเอาเท้าไปราน้ำให้เรือแล่นช้า - มือไวใจเร็ว
หมายถึง ด่วนตัดสินใจทำสิ่งต่างๆ โดยไม่คิดให้รอบคอบ - ม้าดีต้องมีพยศ
หมายถึง คนเก่ง คนมีฝีมือ มักจะมีความรั้นบ้างในบางแง่มุม - ม้าดีย่อมมีพยศ
หมายถึง คนเก่ง คนมีฝีมือ มักจะมีความรั้นบ้างในบางแง่มุม - ยกตนข่มท่าน
หมายถึง ยกย่องตัวเองและข่มผู้อื่น,พูดทับถมผู้อื่นแสดงให้เห็นว่าตัวเหนือกว่า - ยกหางตัวเอง
หมายถึง ยกตนเองว่าดีว่าเก่ง - ยกเมฆ
หมายถึง เดาเอา,นึกคาดเอาเอง,กุเรื่องขึ้น - ยืนกระต่ายขาเดียว
หมายถึง การพูดยืนยันคำเดียวไม่แปรผันหรือเปลี่ยนแปลงไปเช่นเขาไม่ได้ลักเงินไปจริงๆถามเขาตั้งร้อยครั้งเขาก็ยืนยันว่าไม่ได้อาไปจริง - รวมกันเราอยู่แยกกันเราตาย
หมายถึง ร่วมกันทำงานย่อมประสบความสำเร็จได้ แต่ทางตรงกันข้าม ถ้าแยกกันทำไม่รวมใจกัน งานอาจจะไม่ประสบความสำเร็จเอาได้ - รวมกันเราอยู่แยกหมู่เราตาย
หมายถึง ร่วมกันทำงานย่อมประสบความสำเร็จได้ แต่ทางตรงกันข้าม ถ้าแยกกันทำไม่รวมใจกัน งานอาจจะไม่ประสบความสำเร็จเอาได้ - รักดีหามจั่วรักชั่วหามเสา
หมายถึง ใฝ่ดีจะมีความสุขความเจริญใฝ่ชั่วจะได้รับความลำบาก - รักสนุกทุกข์ถนัด
หมายถึง สนุกมาก ก็มักจะทุกข์มาก - รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี
หมายถึง คือการสามารถเอาตัวรอดในจังหวะ สถาการณ์ที่ลำบากหรือเข้าขั้นวิกฤติได้ หรือหลบหลีกจากอันตรายมาได้อย่างปลอดภัยไม่ได้รับผลอันใดจากสิ่งต่างๆ ได้โดยไม่เป็นอะไรหรือได้รับผลกระทบมากมาย - รู้สิ่งใดไม่สู้รู้วิชา รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี
หมายถึง ความรู้จะสามารถช่วยให้เราสามารถรักษาตัวเองให้รอดได้และเป็นสิ่งมีค่าที่จะติดตัวเราไปทุกที่มากกว่าทรัพย์สินสิ่งของใดๆ - ลูกรักอยู่หลังลูกชังอยู่หน้า
หมายถึง รักลูกไม่เท่ากัน - ลูกไก่ในกำมือ
หมายถึง ผู้ที่ตกอยู่ภายใต้อำนาจ ไม่มีทางหนีหรือทางต่อสู้ - ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น
หมายถึง ลูกย่อมไม่ต่างกับพ่อแม่มากนัก - วัดรอยเท้า
หมายถึง มุ่งจะโต้ตอบมุ่งแก้แค้นมุ่งอาฆาตเป็นสำนวนที่ใช้กับลูกที่คิดจะสู้ลูกหรือใช้กับผู้น้อยคิดจะหักล้างผู้ใหญ่ที่เคยบังคับบัญชาตนมาก็ได้ - วันพระไม่ได้มีหนเดียว
หมายถึง วันหน้ายังมีโอกาสอีก(มักใช้พูดเป็นเชิงอาฆาต) - วัวลืมตีน
หมายถึง คนที่ได้ดีแล้วลืมฐานะเดิมของตน - วัวหายล้อมคอก
หมายถึง เกิดเรื่องเสียหายขึ้นแล้วจึงคิดหาหนทางป้องกันเหมือนมีสมบัติไม่เก็บรักษาให้ดีพอสมบัติหายไปแล้วจึงหาทางสร้างที่เก็บสมบัติ - วัวแก่อยากกินหญ้าอ่อน
หมายถึง ชายแก่ที่มีเมียสาวคราวลูกหลานมักใช้เป็นคำเปรียบเปรยเมื่อเห็นคนที่มีอายุมากไปจีบเด็กรุ่นลูกหลานหวังจะได้มาเป็นเมีย - ศิษย์คิดล้างครู
หมายถึง ศิษย์เนรคุณที่มุ่งคิดทำลายล้างครูบาอาจารย์ - สอนจระเข้ให้ว่ายน้ำ
หมายถึง สอนคนที่มีสันดานไม่ดีอยู่แล้วให้มีความเฉลียวฉลาดมากยิ่งขึ้นแล้วก็ก่อให้เกิดเรื่องร้ายขึ้นมาภายหลัง - สำเนียงบอกภาษากิริยาส่อสกุล
หมายถึง การแสดงออกทางการพูดหรือกิริยามารยาท ที่จะชี้ให้เห็นถึงพื้นฐานการในการเลี้ยงดู อบรมสั่งสอน - สีซอให้ควายฟัง
หมายถึง แนะนำ หรือสั่งสอนคนปัญญาทึบ มักไม่มีประโยชน์ เสียเวลาเปล่า - หมากัดไม่เห่า
หมายถึง คนที่ต่อสู้หรือตอบโต้โดยไม่เตือนล่วงหน้า - หวานนอกขมใน
หมายถึง พูดทำหรือแสดงให้เห็นว่าดีแต่ภายนอกแต่ในใจกลับตรงข้าม - หอกข้างแคร่
หมายถึง คนที่ใกล้ชิดที่อาจคิดร้ายขึ้นมาเมื่อไรก็ได้มักใช้แก่ลูกเลี้ยงที่ติดมากับพ่อหรือแม่,ศัตรูที่อยู่ข้างตัว - อกเขาอกเรา
หมายถึง การที่มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น หากคิดที่จะทำอะไรสักอย่างกับผู้อื่น ให้นึกถึงความรู้สึกของเขา ถ้าเราเป็นเขาจะรู้สึกอย่างไร - อมพระมาพูด
หมายถึง ใช้ในการพูดโดยอ้างพระหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาประกอบเป็นพยานมักใช้ในความปฏิเสธเช่นต่อให้อมพระมาพูดก็ไม่เชื่อ - อยากเป็นหนี้ให้เป็นนายหน้า
หมายถึง หลีกเลี่ยงกระทำสัญญาหรือค้ำประกันให้คนอื่น เพราะอาจจะได้รับความเดือดร้อน - อย่าถือคนบ้าอย่าว่าคนเมา
หมายถึง อย่าหาความจากคนที่ไม่มีสติสมบูรณ์ เพราะไร้ซึ่งประโยชน์ในการเจรจา - อย่าไว้ใจทางอย่าวางใจคนจะจนใจเอง
หมายถึง ไม่ควรไว้ใจใครมากเกินไปเพราะเขาอาจจะทำให้เราเดือดร้อนในภายหลังได้ - เกลือเป็นหนอน
หมายถึง ญาติมิตรสามาภรรยาบุตรธิดาเพื่อนร่วมงานหรือคนในบ้านคิดคดทรยศ - เขียนด้วยมือลบด้วยตีน
หมายถึง ยกย่องแล้วกลับทําลายในภายหลัง - เขียนด้วยมือลบด้วยเท้า
หมายถึง ยกย่องแล้วกลับทําลายในภายหลัง - เขียนเสือให้วัวกลัว
หมายถึง ทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งเสียขวัญหรือเกรงขาม - เข้าเมืองตาหลิ่วต้องหลิ่วตาตาม
หมายถึง ประพฤติตัวเหมาะสมกับกาลเทศะ, ปรับตัวให้เข้ากับสถานที่ คน และสิ่งแวดล้อมที่ตัวเองอาศัยอยู่ - เดินตามหลังผู้ใหญ่หมาไม่กัด
หมายถึง ประพฤติตามอย่างผู้ใหญ่ย่อมปลอดภัย - เด็ดบัวไม่ไว้ใย
หมายถึง ตัดขาด,ตัดญาติขาดมิตรกันเด็ดขาด,มักใช้คู่กับเด็ดดอกไม่ไว้ขั้วเด็ดบัวไม่ไว้ใย - เป่าปี่ให้ควายฟัง
หมายถึง การพูดจาแนะนำสั่งสอนให้คนโง่เง่าฟังเพื่อหวังให้เกิดประโยชน์แก่ตัวเขาเองแต่กลับไม่ได้ประโยชน์อะไรเลยเพราะคนโง่ฟังไม่รู้เรื่องเหมือนกับคนเป่าปี่ให้ควายฟังควายฟังไม่รู้เรื่อง - เพื่อนกินหาง่ายเพื่อนตายหายาก
หมายถึง เพื่อนกินเพื่อนเที่ยวหาง่าย แต่เพื่อนที่คอยช่วยเหลือยามลำบากนั้นหายาก - เลือกที่รักมักที่ชัง
หมายถึง ลำเอียง, ไม่เป็นกลาง, เลือกปฏิบัติ - เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
หมายถึง การให้อภัย คือการยุติความบาดหมางทั้งปวง ไม่จองเวรจองกรรมกัน เวรกรรมก็จะไม่เกิดขึ้นใหม่ - เสือสองตัวอยู่ถ้ำเดียวกันไม่ได้
หมายถึง คนมีอำนาจ บารมี อิทธิพลพอ ๆ กัน ย่อมอยู่ร่วมกันไม่ได้ ตัวอย่างเช่น เขาทั้งสองเป็นคนเก่งและมีความสามารถเท่า ๆ กันมักเกิดปัญหาเพราะความไม่ยอมกันเหมือนเสือสองตัวอยู่ถ้ำเดียวกันไม่ได้ - เห็นกงจักรเป็นดอกบัว
หมายถึง เห็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง - เอาลูกเขามาเลี้ยงเอาเมี่ยงเขามาอม
หมายถึง เอาลูกของคนอื่นมาเลี้ยงเป็นลูกเป็นภาระรับผิดชอบที่หวังผลตอบแทนแน่นอนไม่ได้ - แมวนอนหวด
หมายถึง ทำทีว่าเป็นคนซื่อ แต่พอเผลอก็ออกลวดลายทันที เช่นเดียวกับแมวที่นอนบิดขี้เกียจ ไม่ลืมหูลืมตาอยู่ใกล้ ๆ หวดนึ่งข้าวข้าง ๆ เตาไฟที่มีปลาย่างวางอยู่พอคนเผลอมันก็ลุกขึ้นคาบ เอาปลาไปทันที - แม่สื่อแม่ชักไม่ได้เจ้าตัวเอาวัวพันหลัก
หมายถึง หญิงที่ไปติดต่อระหว่างชายหญิงแต่ไม่สำเร็จในที่สุดก็ตกเป็นภรรยาของชายนั้นแทน - ใจดีผีเข้า
หมายถึง คนใจดีเป็นคนดีเกินไปมักถูกรังแก - ใจเขาใจเรา
หมายถึง การที่มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น หากคิดที่จะทำอะไรสักอย่างกับผู้อื่น ให้นึกถึงความรู้สึกของเขา ถ้าเราเป็นเขาจะรู้สึกอย่างไร - ในน้ำมีปลาในนามีข้าว
หมายถึง ดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์ ผู้คนไม่อดอยากปากแห้ง โดยเทียบได้กับในแหล่งน้ำทุกที่มีปลาให้จับเป็นอาหารและในนาก็มีข้าวอุดมสมบูรณ์ - ไก่งามเพราะขนคนงามเพราะแต่ง
หมายถึง ความสวยงามเกิดขึ้นได้จากการปรุงแต่ง - ไก่เห็นตีนงูงูเห็นนมไก่
หมายถึง ต่างฝ่ายต่างรู้ความลับของกันและกัน - ไปลามาไหว้
หมายถึง มารยาทไทย ที่เป็นวัฒนธรรมในการทักทาย เวลาพบปะกันหรือลาจากกัน